วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กรรม ของคนขายสุรา.

การขายเหล้า แม้จะถูกกฏหมาย แต่ผิดศีลธรรม
     ในปัจจุบันการค้าขายสิ่งที่ผิดกฏหมาย ทางการย่อมไม่ปล่อยปละละเลย และหลายๆคนย่อมไม่กระทำเพราะเป็นสิ่งที่ผิดทั้งกฏหมายและศีลธรรม แต่มีการค้าขายอยู่ชนิดหนึ่งที่แม้จะถูกกฏหมาย แต่ก็ยังต้องบอกว่าผิดศีลธรรม ยังคงต้องได้รับผลกรรมในด้านที่ไม่ดีอย่างแน่นอน.

     "เหล้า" หรือ "สุรา" ในบ้านเรามีการค้าขายอย่างเปิดเผยและถูกกฏหมาย แม้จะเป็นเหล้าที่ต้มเองโดยชาวบ้าน แล้วนำไปเสียภาษีสรรพสามิตก็ย่อมฟถือว่าถูกกฏหมาย ไม่ใช่เหล้าเถื่อนอีกต่อไป ผู้คนก็เลยมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ผิด เพราะไม่ผิดกฏหมาย แต่ในแง่ของธรรมะ ศีลธรรมแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับมาขายหรือผลิตเอง ย่อมได้รับผลกรรมตามมา

     ผลกรรมที่ขาย "เหล้า" หรือ "สุรา" ที่้เด่นชัด ในชาตินี้ มีดังนี้
  •  ขึ้นชื่อว่า กรรม เป็น อจินไตย เข้าใจได้ยาก ส่งผลได้ทั้งเร็วและช้า ถ้าพูดถึงกรรมในชาติปัจจุบันส่วนใหญ่จะแสดงผลให้เกิดที่ลูก(บุตร) จะทำให้บุตร เป็นคนที่หลงผิดเป็นชอบ ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งที่คนอื่นๆมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าทำ ไม่น่ามอง เช่นในสายตาของคนปกติทั่วไป มองว่าผู้หญิงคนหนึ่งเป็นคนที่ไม่ดี ไม่น่าคบ เป็นคนชั่วด้วยกาย วาจา และใจ แต่บุตรของผู้มีอาชีพขายเหล้า กลับมองว่าเป็นผู้หญิงที่ดี น่ารัก เป็นคนดี ลุ่มหลงมัวเมาจนถอนตัวไม่ขึ้น ไม่ว่าผู้อื่นจะตักเตือนอย่างไร จะว่ากล่าวอย่างไร ก็ไม่ฟัง และสุดท้ายก็มักจะเสียใจในที่สุด
  • มักจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสุรา หรือบุตร ญาติพี่น้องมักจะป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับสุรา (หมายถึงโรคที่คนดื่มสุราแล้วมักจะเป็น เช่น ตับแข็ง มะเร็ง เป็นต้น) ถึงแม้ว่าจะไม่ดื่มสุรา ก็ยังมีโอกาสเสี่ยง เพราะกรรมที่เป็นคนส่งเสริมให้ผู้อื่นป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับสุรา ส่งผลทำให้ผู้ขายสุรา ได้รับผลกรรมนี้ด้วยเช่นกัน
  • มักจะเสียทรัพย์สิน อันเกิดจากผู้ที่ดื่มสุราอยู่เสมอๆ เช่น มีผู้ที่ดื่มเหล้าเมาแล้วขับรถพุ่งเข้าชนทรัพย์สินอันมีค่า ของผู้ที่ขายสุรา เป็นต้น เนื่องมาจากเงินที่ได้จากการขายสุรา เป็นทรัพย์ที่ไม่บริสุทธิ์ เมื่อได้ทรัพย์มาอย่างไม่บริสุทธิ์ย่อมเสียไปโดยง่าย และมักจะเสียไปกับผู้ที่มีกรรมเกี่ยวข้องกัน นั่นก็คือ ผู้ที่ดื่มสุรานั่นเอง
     มีคนบอกว่า "ถ้าไม่อยากให้มีคนดื่มเหล่า ไม่อยากให้มีคนสูบบุหรี่ ก็อย่าให้มีคนขาย " ด้วยเป็นมนุษย์ปุถุชน อันหนักอึ้งไปด้วยกิเลส ย่อมทำได้ยาก  ผู้ที่กระทำกรรมไม่ดี 90% รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ก็ยังกระทำกันอยู่  พระท่านถึงได้บอกว่า "สอน คนที่สอนได้" ที่เหลือก็ให้ฟังไว้ จะปฏิบัติหรือไม่ เป็นเรื่องของปัจเจกชน ขนาดฝรั่งยังมีสุภาษิตที่ว่า "เราสามารถพาม้าไปที่ลำธารได้ แต่ไม่สามารถบังคับให้ม้ากินน้ำได้" ฉันใดก็ฉันนั้น.

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ท่านคิดว่าสังคมไทยทำไมถึงตกต่ำโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ (ยุคข้าวยาก หมากแพง)


พระพุทธองค์สอนไว้ว่า "ผลเกิดจากเหตุ  ดับเหตุได้ จึงไร้ผล"

     ศีล 5 ประกอบไปด้วย ห้ามฆ่าสัตว์, ห้ามลักทรัพย์, ห้ามประพฤติผิดในกาม, ห้ามพูดปด ส่อเสียด, ห้ามดื่มสุรา  ทุกข้อล้วน มีผลตามมาหากกระทำ เช่น เราฆ่าสัตว์ ย่อมทำให้เรา มีโรคมาก อายุสั้น  ถ้าเราลักขโมยของ ย่อมทำให้เรามีเหตุให้เสียทรัพย์อันไม่ควรจะเสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้น

     ประเทศไทยเข้าสู่ยุคข้าวยาก หมากแพง เศรษฐกิจย่ำแย่ คนส่วนใหญ่ในประเทศยากจนมีหนี้สินมากมาย มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทุกๆอย่างมันบ่งชี้ถึงเรื่องเกี่ยวกับ การเมือง และเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อมาลองคิดๆดูในเรื่อง "ผลเกิดจากเหตุ" ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ทำให้ฉุกคิดถึงเรื่องๆหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้อง ก็คือ "เงินซื้อได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งคน" เมื่อคนเริ่มมองสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ทำได้ และยอมรับได้ ในเมื่อรับเงินทุจริตในเรื่องอะไรก็ตาม คุณก็ต้องชดใช้ในเรื่องนั้นๆ  
     
     ลองคิดเล่นๆ สมมุตว่า ในประเทศแห่งหนึ่งในโลกนี้(ไม่ใช่ประเทศไทย) ผู้คนส่วนใหญ่เป็นประชาธิปไตร โดยใช้เสียงข้างมาก ในการเลือกตั้ง แล้วมีนักการเมืองประเทศนั้นๆ แย่งกันซื้อเสียงประชาชน โดยประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆก็นิยมเลือกฝ่ายที่ให้ผลประโยชน์มากที่สุด และนักการเมืองที่ลงทุนมากที่สุดก็ได้รับเลือกไป  และถ้าผลกรรมมีจริง คนที่ต้องรับผลกรรมนั้น ก็คงจะไม่พ้น "ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆนั่นเอง"  แล้วผลกรรมที่ควรจะได้รับนั้นละ น่าจะคืออะไร ?  ก็ในเมื่อเกี่ยวกับเงิน ก็คงจะไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจอย่างแน่นอน  จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประชาชนในประเทศนั้นถึงมีปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจซะส่วนใหญ่  เพราะคนส่วนใหญ่มีกรรมเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้นั้นเอง

    ทั้งนี้ ทั้งนั้น เรื่องที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องที่สมมุตขึ้นมา แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว เชื่อว่าหลายๆท่านคงจะทราบคำตอบดีว่าเป็นเช่นไร หากท่านทำใจให้เป็นกลางและมองดูโลกตามความจริง  แต่สัจจะธรรมก็คือ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ร่วมกันทำดีก็ย่อมดีทั้งหมู่คณะ ร่วมกันทำชั่วก็ย่อมได้ชั่วทั้งหมู่คณะเช่นกัน" จงมาร่วมกันสร้างความดี ละเว้นความชั่วให้มากที่สุด ผลกรรมย่อมปรากฏต่อผู้กระทำกรรมเสมอ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะยิ่งใหญ่ หรือเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม.