วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

ประวัติตุ๊ปู่จี๋ : พระมหาโพธิวงศาจารย์ (หลวงปู่สุจี กตสารมหาเถร) ตอนที่ 4

หุ่นขี้ผึ้งจำลองในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่

เกียรติคุณที่หลวงปู่สมควรได้รับการยกย่อง

     หลวงปู่(พระเดชพระคุณรพระมหาโพธิวงศาจารย์) นับเป็นปูชนียบุคคลที่ประเสริฐยิ่ง ที่พุทธศาสนิกชน ทั้งในจังหวัดแพร่ และต่างจังหวัดจะต้องจารึกไว้ไม่รู้ลืม พระเดชพระคุณท่าน ได้สร้างคุณประโยชน์มากมายมหาศาลแก่สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา

     หลวงปู่มีอัธยาศัยไมตรีดีกับทุกคน เป็นพระมหาเถระที่มีบารมีธรรมที่แผ่ไพศาล ศิษยานุศิษย์ทุกคนต่างซาบซึ้งในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระเดชพระคุณท่านหลายๆอย่าง และท่านได้ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีมาโดยตลอด อีกทั้งยังเปี่ยมล้นไปด้วยความเสียสละ มีความรับผิดชอบ เคารพ ระเบียบวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน มีความจริงใจต่อผู้ร่วมงานทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์  เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเดชพระคุณท่านได้ประพฤติปฏิบัติมาโดยตลอด

     ศิษยานุศิษย์ที่ใกล้ชิดและอยู่ใต้บารมีธรรมของพระเดชพระคุณท่านย่อมรู้สึกซาบซึ้งเป็นที่สุด นับว่าเป็นปูชนียบุคคลที่หายากยิ่ง ไม่สามารถที่จะพรรณนาจริยาวัตรอันงดงามของพระเดชพระคุณท่านให้หมดสิ้นได้ เพราะฉะนั้น ศิษยานุศิษย์จงมีความภูมิใจเถิดที่ได้เกิดมามีบุญได้สนองงานของพระเดชพระคุณท่าน  ในการสร้างสรรค์สังคม จรรโลงพระพุทธศาสนาให้สถิติสถาพรสืบต่อไป

รางวัลและเกียรติคุณที่หลวงปู่ได้รับการยกย่อง

  • พ.ศ. 2526  ได้รับวัดพัฒนาดีเด่น จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2527  ได้รับเสาเสมาธรรมจักร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สาขาการบริหารการศึกษา
  • พ.ศ. 2539  ได้รับเกียรติบัตร จากกรมราชทัณฑ์ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ด้านการพัฒนาจิตใจ แก่ผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง
  • พ.ศ. 2540  ได้รับเกียรติบัตร  จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ 
     และสำหรับการก่อสร้างพระเจดีย์พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ หลวงปู่ก็เป็นผู้เริ่มวางศิลาฤกษ์ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ วัดพนมขวัญ จังหวัดแพร่

ที่มา : เนื้อหาประวัติหลวงปู่สุจี กตสารมหาเถร  หรือพระเดชพระคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ ได้มาจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์ มณฑลพิธีสนามหลวงจังหวัดแพร่ ๑๙-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖  โดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ
โดยในเล่มจะมีเนื้อหาของ "ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด"  พระพรหมบัณฑิต(ประยูร ธมมจิตโต ป.ธ.๙, Ph.D.) ศาสตราจารย์ , ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น